เมนู

มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้
นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.
ผู้มีชื่อนี้สงฆ์อุปสมบทแล้ว มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ
ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.


อุปสมบทกรรม จบ

พระพุทธานุญาตนิสสัย 4


[143] ทันใดนั้นแหละ พึงวัดเงา พึงบอกประมาณแห่งฤดู พึงบอก
ส่วนแห่งวัน พึงบอกสังคีติ พึงบอกนิสสัย 4 ว่าดังนี้:-
1. บรรพชาอาศัยโภชนะ คือคำข้าวอันหาได้ด้วยกำลังปลีแข้ง เธอ
พึงทำอุตสาหะในข้อนั้นจนตลอดชีวิต อติเรกลาภ คือภัตถวายสงฆ์ ภัตเฉพาะ
สงฆ์ การนิมนต์ ภัตถวายตามสลาก ภัตถวายในปักษ์ ภัตถวายในวันอุโบสถ
ภัตถวายในวันปาฏิบท.
2. บรรพชาอาศัยบังสุกุลจีวร เธอพึงทำอุตสาหะในข้อนั้นจนตลอด
ชีวิต อดิเรกลาภ คือ ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ ผ้าป่าน ผ้าแกมกัน.
3. บรรพชาอาศัยโคนต้นไม้เป็นเสนาสนะ เธอพึงอุตสาหะในข้อนั้น
จนตลอดชีวิต อดิเรกลาภ คือวิหาร เรือนมุงแถบเดียว เรือนชั้น เรือนโล้น ถ้ำ.
4. บรรพชาอาศัยมูตรเน่าเป็นยา เธอพึงทำอุตสาหะในข้อนั้น จนตลอด
ชีวิต อดิเรกลาภ คือเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้าผึ้ง น้ำอ้อย.
นิสสัย 4 จบ

อกรณียกิจ 4


[144] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายอุปสมบทภิกษุรูป 1 แล้ว
ทิ้งไว้แต่ลำพังแล้ว หลีกไป เธอเดินมาทีหลังแต่รูปเดียว ได้พบภรรยาเก่าเข้า ณ
ระหว่างทาง นางได้ถามว่า เวลานี้ท่านบวชแล้วหรือ ?
ภิกษุนั้นตอบว่า จ้ะ ฉันบวชแล้ว.
นางจึงพูดชวนว่า เมถุนธรรมพวกบรรพชิตหาได้ยาก นิมนต์ท่าน
มาเสพเมถุนธรรม.
ภิกษุนั้นได้เสพเมถุนธรรมในนางแล้ว ได้ไปถึงทีหลังช้าไป ภิกษุ
ทั้งหลายถามว่า อาวุโส ท่านมัวทำอะไรชักช้าเช่นนี้ เธอได้แจ้งเรื่องนั้นแก่
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระพุทธานุญาตให้บอกอกรณียกิจ


ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น
เค้ามูลนั้นในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ให้อุปสมบทแล้วให้ภิกษุอยู่เป็นเพื่อน และให้
บอกอกรณียกิจ 4 ดังต่อไปนี้:-
1. อันภิกษุผู้อุปสมบทแล้ว ไม่พึงเสพเมถุนธรรม โดยที่สุดแม้ใน
สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ภิกษุใดเสพเมถุนธรรม ไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสาย
ศากยบุตร เปรียบเหมือนบุรุษถูกตัดศีรษะแล้ว ไม่อาจจะมีสรีระคุมกัน
นั้นเป็นอยู่ ภิกษุก็เหมือนกัน เสพเมถุนธรรมแล้ว ไม่เป็นสมณะ ไม่เป็น
เชื้อสายศากยบุตร การนั้น เธอไม่พึงทำตลอดชีวิต.
2. อันภิกษุผู้อุปสมบทแล้ว ไม่พึงถือเอาของอันเขาไม่ได้ให้ เป็น
ส่วนขโมย โดยที่สุดหมายเอาถึงเส้นหญ้า ภิกษุใดถือเอาของอันเขาไม่ได้ให้